แบ่งปันสูตร “กล้วยเชื่อมแดง” สีสวย เนื้อนุ่มหนึบ ไม่แข็ง ทำง่ายๆด้วยหม้อหุงข้าว มือใหม่หัดทำเก็บสูตรไว้เลย (ดููส่วนผสม)

สวัสดีค่ะเพื่อนๆ วันนี้เอาสูตรการทำกล้วยเชื่อมแดงมาฝากเพื่อนๆได้ลองทำกันค่ะ เป็นสูตรจากคุณบ่งบ๊ง สมาชิกเว็บพันทิป นั่นเอง สูตรนี้ง่ายมาก เหมาะสำหรับมือใหม่หัดลองเลยล่ะค่ะ กล้วยเชื่อมออกมาสีสวย เนื้อนุ่มหนึบ ไม่แข็ง แค่มีหม้อหุงข้าวก็ทำได้เเล้ว มาดูส่วนผสมปละขั้นตอนกันค่ะ

*ส่วนประกอบ

น้ำสะอาด 3 ถ้วย (ถ้วยตวงข้าวที่มาพร้อมหม้อ)

กล้วยน้ำว้า 1 หวี (ประมาณ 8 – 10 ลูก)

ใบเตย 3 ใบ (ล้างให้สะอาดแล้วมัดรวมกัน)

น้ำตาลทราย 12 ช้อนคาว (ช้อนทานข้าว)

น้ำตาลมะพร้าว 3 ช้อนคาว

เกลือป่น 1-2 ช้อนชา

หมอหุงข้าวไฟฟ้า (ชนิดหุงข้าวธรรมดา)

**ขั้นตอน

สิ่งที่ต้องเตรียม

ล้างกล้วยทั้งเปลือกให้สะอาดก่อน ปอกเปลือก หั่นชิ้นขนาดตามชอบหั่นแล้วล้างผ่านน้ำให้ยางกล้วยออกหมด เอาใส่ในตะกร้าให้สะเด็ดน้ำ

หมายเหตุ – ถ้าใช้กล้วยห่ามแบบเปลือกยังเขียว ๆ ไม่ต้องแช่น้ำปูนใสแต่ถ้ากล้วยงอมมาก กลัวว่าเชื่อมแล้วเนื้อจะเละ ให้เอาลงแช่น้ำปูนใสแช่กล้วยในน้ำปูนใสประมาณ 30 นาที (ระยะเวลามากน้อยให้ลองกะดู)

หากชอบทานกล้วยเชื่อมเนื้อแข็ง ต้องเลือกสีของเปลือกประมาณนี้ ได้กล้วยลักษณะนี้ไม่แนะนำให้แช่น้ำปูนใส เชื่อมออกมาแล้วเนื้อจะแข็งถ้าได้กล้วยเหลืองสุก (ไม่มีเหลี่ยมกล้วย) ควรแช่น้ำปูนใสสักครึ่งชั่วโมง

วิธีเชื่อมกล้วย

น้ำสะอาด 3 ถ้วย (ถ้วยตวงข้าวสารที่มากับหม้อ) เทใส่ในหม้อหุงข้าวไฟฟ้าใส่น้ำตาลทั้งสองชนิดลงไป คนผสมให้เข้ากันจนน้ำตาลมะพร้าวละลายหมดใส่ใบเตยมัดรวมกันลงไปด้วย ใส่กล้วยน้ำว้าที่หั่นไว้ลงไป ปิดฝาหม้อด้วย

การหั่นชิ้นกล้วยเลือกขนาดและรูปแบบตามชอบ (ถ้ากล้วยลูกใหญ่มากหั่นตามขวางแบบกลม ๆ ในภาพก็ได้ หรือ จะแบ่งกล้วยเป็นครึ่งลูก แล้วตัดแบ่งออกเป็นสองชิ้น หั่นอีกครั้งให้เป็นสี่ชิ้นก็ได้

การเชื่อมกล้วยในหม้อหุงข้าวไฟฟ้า หม้อจะไม่ตัดไฟเหมือนการหุงข้าวตามปกติฉะนั้นต้องต้มไปเรื่อย ๆ หมั่นสังเกตดูว่ากล้วยสุกมากน้อยตามที่เราชอบหรือยัง
เมื่อกล้วยสุกและได้สีแดงถูกใจแล้ว กดปุ่มปิดหม้อหุงข้าว หรือจะอุ่นต่อไปก็ได้

ใช้ระยะเวลาในการเชื่อมกล้วยประมาณหนึ่งชั่วโมงกว่า เกือบสองชั่วโมง ระหว่างเชื่อมปล่อยทิ้งไว้แล้วเราก็ไปทำงานอื่น ๆ อย่าลืมหมั่นคอยมาเปิดหม้อดู ข้อดีของการเชื่อมในหม้อหุงข้าว สะดวกแน่นอน ที่สำคัญคุณไม่ต้องคอยยืนเฝ้า แค่ในช่วงแรกหมั่นช้อนฟองดำ ๆ ออกทิ้ง จากนั้นปิดฝาหม้อไว้ แล้วปล่อยให้คุณหม้อหุงข้าวได้ทำงานไปเรื่อย ๆ แต่มันจะไม่ตัดไฟเหมือนการหุงข้าวตามปกติ ประมาณว่าเราหุงข้าวสองรอบ (โดยไม่ต้องกดปุ่มการหุงต่อเนื่อง) ยาวไปเรื่อย ๆ

การสุกของกล้วยโดยที่ไม่ต้องการให้มีสีแดงมากน้อย อยู่ที่เรากำหนดระยะเวลาประมาณหนึ่งชั่วโมงก็สุกแล้ว หากต้องการสีแดงจัด คุณก็ต่อระยะเวลาออกไปได้
หนึ่งชั่วโมงครึ่งถึงสองชั่วโมง ขึ้นอยู่ที่การห่ามและสุกของกล้วย และความพอใจ

เมื่อเวลาผ่านไปหนึ่งชั่วโมงสี่สิบห้านาที ได้กล้วยสีแดงแบบนี้ค่ะ สีแดงจากตัวกล้วย ไม่ได้มีการปรับแต่งภาพแต่งสีแดงแต่อย่างใด

หมายเหตุ – การให้สีแดงของกล้วยหลังการเชื่อม ไม่เกี่ยวกับการแช่น้ำปูนใสหรือบีบน้ำมะนาวระหว่างเชื่อม ตามที่หลายคนเข้าใจ กล้วยเชื่อมจะมีความแดง
มากน้อยขึ้นอยู่กับชนิดและสายพันธุ์ ตัวการสำคัญทำให้กล้วยเชื่อมมีสีแดง คือ สารแทนนิน (Tannin) ที่ให้รสฝาดและรสขม สารชนิดนี้พบมากสุดในกล้วยดิบ

ใครชอบกล้วยเชื่อมแบบราดกะทิ ก็ต้องเตรียมน้ำกะทิไว้ราดด้วย เทกะทิใส่ในหม้อใบย่อม ๆ ใส่เกลือลงไปเล็กน้อย เปิดไฟเตาเบา ๆรอให้กะทิเดือดปุดๆ ปิดไฟเตา ถ้าชอบกะทิข้น ๆ ใส่แป้งสาลีเล็กน้อย

กล้วยเชื่อมแดง เชื่อมกล้วยแดง ไม่ยากเลย แค่มีหม้อหุงข้าวไฟฟ้ามีกระทะไฟฟ้า

.

แวะมาชมกระทู้นี้แล้วออกไปซื้อกล้วยที่ร้านสะดวกซื้อมาลองเชื่อมตามสูตรนี้ ขอให้ทำสำเร็จ ทำแล้วออกมาหน้าตาดี สีกล้วยแดงแก่กล่ำได้ใจแบบนี้นะคะ

ขอขอบคุณข้อมูลจากคุณ บ่งบ๊ง สมาชิกเว็บพันทิป